ข้อมูลทั่วไป ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของทวีปยุโรป ทิศเหนือติดกับช่องแคบอังกฤษ ประเทศเบลเยียม และลักเซมเบิร์ก ทิศตะวันออกติดกับเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทิศใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อันดอร์ราและสเปน
ภูมิอากาศ โดยทั่วไปฤดูหนาวอากาศเย็น และฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ส่วนภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน ฤดูหนาวอากาศไม่เย็นจัด และฤดูร้อนอากาศร้อน สามารถมีลม Mistral พัดผ่านจากทิศเหนือไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือได้เป็นครั้งคราว
พื้นที่ 211,152 ตารางไมล์ หรือ 657,417 ตารางกิโลเมตร (รวมดินแดนโพ้นทะเล)
ประชากร 63.7 ล้านคน (มกราคม 2549)
ภาษาราชการ ฝรั่งเศส (มีภาษา Dialects เช่น Breton, Proven?al, Alsatian, Corsican เป็นต้น)
ศาสนา คริสต์ (90% โรมันคาธอลิค) นอกจากนั้นโปรเตสแตนท์ (2%) ยิว (1%) มุสลิม (5-10%) ไม่นับถือศาสนา 4%
เมืองหลวง กรุงปารีส
สกุลเงิน ยูโร (Euro) 1 ยูโร
วันชาติ 14 กรกฎาคม
ระบบการเมือง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประกอบด้วยสภาแห่งชาติและวุฒิสภา
ระบบการปกครอง สาธารณรัฐ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (R?gion) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 96 จังหวัด (D?partement) จังหวัด-มณฑลโพ้นทะเล (D?partements et r?gion d’outre-mer - DOM-ROM) 4 แห่ง ได้แก่Guadeloupe, Martinique, Guyane or French Guiana, R?union ชุมชนโพ้นทะเล (Collectivit?s d’outre-mer - COM) ซึ่งเป็นดินแดนที่มีสถานะแตกต่างกัน 6 แห่ง ได้แก่ Polyn?sie Fran?aise (มีสถานะเป็นประเทศโพ้นทะเล หรือ pays d’outre-mer),Saint-Pierre-et-Miquelon, Wallis-et-Futuna, Mayotte (มีสถานะเป็นชุมชนระดับจังหวัดโพ้นทะเล หรือ collectivit? d?partementale d’outre-mer), Saint-Martin, Saint-Barth?lemy นอกจากนี้ มีดินแดนที่มีสถานะพิเศษ ได้แก่ Nouvelle Cal?donie (มีสถานะเป็นชุมชน) และดินแดนในแถบขั้วโลกใต้ ได้แก่ Kerguelen, Crozet, Saint-Paul-et-Amsterdam, หมู่เกาะ Eparses และ Terre Ad?lie ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังมีกรรมสิทธิ์เหนือเกาะ Clipperton ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย
ประมุข นายนิโกลา ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสาธารณรัฐที่ 5 เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
นายกรัฐมนตรี นายฟรองซัว ฟิยง (Fran?ois Fillon) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2550
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นาย Bernard Kouchner ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2550
สถาบันทางการเมือง ประมุข รัฐบาล รัฐสภาสาธารณรัฐที่ 5 เริ่มตั้งแต่ 2501 จัดตั้งโดยนายพลเดอโกลล์ และ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ปี 2501) ได้รับการแก้ไขบางส่วนในปี 2505 กำหนดให้ตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมาจากการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปทุก ๆ 7 ปี ต่อมา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2543 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ประธานาธิบดีอยู่ในวาระครั้งละ 5 ปี นับตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปี 2545 เป็นต้นไป ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามการเสนอแนะของนายกรัฐมนตรี รัฐสภาฝรั่งเศส ประกอบด้วย 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร (Assembl?e Nationale) ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั่วประเทศโดยมีอายุสมาชิกภาพครั้งละ 5 ปี มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 577 คน
2. วุฒิสภา (S?nat) ได้รับเลือกตั้งทางอ้อมโดยผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั่วไปทุก ๆ 9 ปี และทุก 3 ปี จะมีการเลือกตั้งใหม่ 1 ใน 3 มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภา 321 คน
พรรคการเมืองที่สำคัญๆ ของฝรั่งเศสUnion Pour un Mouvement Populaire – UMP พรรครัฐบาลSocialiste- PS พรรคสังคมนิยมUnion pour la Democratie Francaise (UDF)Communiste- PCF
การเมืองการปกครอง การเมืองภายในเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 นายนิโกลา ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส ต่อจากนายฌาคส์ ชีรัคอย่างเป็นทางการ ภายหลังได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 โดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 30.57 ของผู้มาลงคะแนนทั้งหมดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 ประธานาธิบดี Sarkozy ได้แต่งตั้งนาย Fran?ois Fillon (นายฟรองซัวส์ ฟิยง) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ทั้งนี้ เนื่องจากนาย Fillon มีความใกล้ชิดทางการเมืองกับประธานาธิบดี Sarkozy โดยได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานาย Sarkozy ระหว่างการรณรงค์หาเสียงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2550 ได้มีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของฝรั่งเศส ประกอบด้วยรัฐมนตรี 15 คน เป็นบุรุษ 8 คน และสตรี 7 คน ซึ่งเป็นนักการเมืองที่สังกัดทั้งพรรคการเมืองฝ่ายขวา ฝ่ายซ้าย และพรรคสายกลาง รวมทั้งบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของประธานาธิบดี Sarkozy ที่จะจัดตั้งรัฐบาลที่มีความผสมผสานทางการเมือง และมีความเสมอภาคของบุรุษและสตรีต่อมา ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ผลปรากฏว่า พรรค UMP ได้รับเสียงข้างมากในสภาฯ โดยได้จำนวนที่นั่ง 324 ที่นั่ง (จากจำนวน 577 ที่นั่ง) ในขณะที่พรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส (Parti Socialiste - PS) ซึ่งนาง S?gol?ne Royal อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสังกัดอยู่ได้รับ 149 ที่นั่ง ซึ่งผลการเลือกตั้งนี้ กอปรกับการลาออกของนาย Alain Jupp? รัฐมนตรีอาวุโสและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมในรัฐบาลขณะนั้นเนื่องจากไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาฯ ส่งผลให้มีการปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 ซึ่งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่นี้ นาย Fran?ois Fillon ยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรี และการเพิ่มตำแหน่งรัฐมนตรีช่วย (Secr?taire d’Etat) อีก 12 ตำแหน่ง ทั้งนี้ เป็นที่คาดการณ์ได้ว่า การบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลและสมาชิกสภาฯ ชุดนี้จะเป็นการต่อสู้กันระหว่างสองขั้วอำนาจกล่าวคือ พรรค UMP และพรรค PS อย่างเด่นชัด อย่างไรก็ดี การที่ประธานาธิบดีและรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภาจะช่วยให้สามารถกำหนดแนวทางในการบริหารประเทศได้อย่างสะดวกและชัดเจน
นโยบายรัฐบาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550 นาย Fran?ois Fillon นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติของฝรั่งเศสซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2550 โดยสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส (ซึ่งพรรค UMP ครองเสียงข้างมาก) ได้มีมติรองรับนโยบายของรัฐบาลสรุปสาระสำคัญของนโยบายของรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแนวนโยบายที่ประธานาธิบดี Sarkozy ได้ใช้ในการหาเสียงในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศส ดังนี้นโยบายการเมืองภายในประเทศ-การควบคุมการเข้าเมือง (Immigration) รัฐบาลจะเสนอมาตรการควบคุมการเข้าเมืองอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น โดยจะเน้นการคัดเลือกบุคคลที่มีความพร้อมและมีความสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ในฝรั่งเศสได้ โดยเฉพาะจะต้องมีความรู้ความเข้าใจภาษาฝรั่งเศสและยอมรับการปกครองแบบสาธารณรัฐของฝรั่งเศส-การจัดหางาน (Employment) รัฐบาลจะนำเสนอวิธีการเพื่อแก้ไขปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเกินกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การพิจารณามาตรการสนับสนุนด้านภาษีแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงการปรับอัตราภาษีอากรต่างๆ อาทิ การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)-การแก้ไขปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับสถาบันทางการเมือง (Institution) รัฐบาลจะนำเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่ออนุญาตให้ประธานาธิบดีสามารถเข้าไปชี้แจงในสภาแห่งชาติได้ รวมทั้งจะมีการเสนอให้มีการปรับปรุงระเบียบและกลไกของสภาแห่งชาติบางส่วนเพื่อเสริมศักยภาพของฝ่ายนิติบัญญัติ-การปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา รัฐบาลจะดำเนินการให้มีการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้แก่ชาวฝรั่งเศส โดยตั้งเป้าหมายให้ชาวฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 50 จบการศึกษา โดยได้ตั้งงบประมาณเพื่อโครงการนี้ (ระหว่างปี ค.ศ. 2007-2012) ไว้ 5 พันล้านยูโร และจะพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยเพิ่มเติมให้แก่สถาบันอุดมศึกษา โดยคาดว่า งบประมาณด้านการวิจัยสำหรับสถาบันอุดมศึกษาจะไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศ-การทหารและความมั่นคง รัฐบาลจะพยายามรักษาความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะในการต่อสู้กับขบวนการก่อการร้าย นอกจากนั้น ฝรั่งเศสจะพิจารณาจัดสร้างเรือบรรทุกเครื่องินที่ใช้พลังงานปรมาณูลำที่ 2 และพิจารณาปรับปรุงระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารด้วย -การจัดที่อยู่อาศัย รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อให้ชาวฝรั่งเศสมีโอกาสเท่าเทียมกันในการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม โดยจะส่งเสริมให้มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับ 500,000 คน โดยในจำนวนนี้จะเป็นอาคารสงเคราะห์สำหรับ 120,000 คน-การช่วยเหลือผู้สูงอายุและการบริการจัดการด้านการรักษาพยาบาล รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุ และจะให้มีการปรับปรุงระบบสวัสดิการ การรักษาพยาบาล ให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับภาระการจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วนเพื่อเป็นการลดภาระรายจ่ายของรัฐ-งบประมาณรายจ่าย รัฐบาลจะพยายามลดสภาวะการขาดดุลงบประมาณ โดยจะพยายามให้มีการจัดทำงบประมาณที่สมดุลภายใน 5 ปี
นโยบายด้านการต่างประเทศรัฐบาลฝรั่งเศสจะดำเนินการเพื่อเสริมสร้างเกียรติภูมิของฝรั่งเศสในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ โดยจะมุ่งเน้นการเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาใน Darfour การพยายามเพื่อให้กองโจรในโคลัมเบียปล่อยตัวนาง Ingrid B?tancourt นักหนังสือพิมพ์สัญชาติฝรั่งเศสที่ถูกจับเป็นตัวประกันในโคลัมเบีย การปฏิรูปสหประชาชาติ โดยเน้นการเสริมสร้างความสมดุลทางการเมืองระหว่างประเทศ การส่งเสริมสร้างจิตสำนึกและขยายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพิจารณาเสนอให้มีการจัดเก็บภาษีอากรสำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และจะให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ดังนี้- สหภาพยุโรป นับตั้งแต่ปี 2488 การรวมตัวของประเทศในภูมิภาคยุโรปเป็นประเด็นหลักของนโยบายต่างประเทศฝรั่งเศส ด้วยเหตุผลสำคัญหลายประการ เช่น ความต้องการให้เกิดสันติภาพและหลักประกันความมั่นคงของรัฐ การสร้างความเข้มแข็งให้รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย การสถาปนาเขตเศรษฐกิจและเงินตราร่วม ทั้งนี้ ฝรั่งเศสถือเป็นประเทศที่มีบทบาทแข็งขันในการก่อให้เกิดประชาคมยุโรป (European Community) เมื่อเดือนมิถุนายน 2527 การลงนามใน Single European Act เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2529 และการจัดทำสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) เมื่อปี 2535 แต่ในการลงประชามติเรื่องธรรมนูญยุโรป (EU Constitution) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2548 ประชาชนชาวฝรั่งเศส (ทั้งในประเทศและดินแดนโพ้นทะเล) ได้ออกเสียงคัดค้านธรรมนูญยุโรปถึงร้อยละ 54.87 โดยมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1) ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นถึงเกือบร้อยละ10 ของประชากรในวัยแรงงาน 2) ความกังวลของชาวฝรั่งเศสว่าการรวมตัวกันของ EU จะทำให้ฝรั่งเศสเสียผลประโยชน์บางประการ เช่น การเคลื่อนย้ายของภาคธุรกิจไปยังประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า การอพยพของชาวยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเข้าฝรั่งเศส รวมทั้งความกังวลเกี่ยวกับการสมัครเข้าเป็นสมาชิก EU ของตุรกี ทำให้ระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี นาย Sarkozy ได้เสนอให้มีการจัดทำธรรมนูญของสหภาพยุโรปขึ้นใหม่ โดยเน้นการจัดความตกลงที่เข้าใจง่าย และเน้นการดำเนินการทางการเมือง โดยต้องแก้ไขประเด็นในการรับรองธรรมนูญสหภาพยุโรปเพื่อป้องกันมิให้ร่างธรรมนูญสหภาพยุโรปฉบับใหม่ต้องชะงักงันจากการลงประชามติไม่เห็นชอบของบางประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ฝรั่งเศสจะรับตำแหน่งประธานสหภาพยุโรป (EU presidency) ต่อจากสโลวีเนีย โดยดำรงตำแหน่งระหว่างเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2008 ก่อนที่จะส่งมอบตำแหน่งให้เช็ก- สหรัฐอเมริกา นาย Sarkozy ซึ่งมีความใกล้ชิดกับประธานาธิบดี Georges W. Bush เห็นว่า ฝรั่งเศสจะต้องคงความเป็นมิตรที่ดีกับสหรัฐฯ เพื่อเสถียรภาพความมั่นคงในโลก แต่เห็นว่าสหรัฐฯ ควรจะปล่อยให้ยุโรปเป็นอิสระในการพิจารณาขยายความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปกันเอง และไม่เห็นด้วยที่สหรัฐฯ ประสงค์จะให้ตุรกีเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปเนื่องจากนาย Sarkozy เห็นว่าตุรกีมิใช่ประเทศในยุโรป- แอฟริกา จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับแอฟริกาบนพื้นฐานของหลักการและผลประโยชน์ร่วมกัน- ความมั่นคง ประธานาธิบดี Sarkozy เห็นว่าจะต้องเน้นการป้องกันรักษาความมั่นคงและเอกราชของฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศส และพันธมิตรของฝรั่งเศส โดยจะคงระดับงบประมาณด้านการป้องกันประเทศไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ของผลผลิตมวลรวมของประเทศ และจะสนับสนุนการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองด้วย นอกจากนี้ในฐานะที่เป็น 1 ใน 5 มหาอำนาจทางนิวเคลียร์ อันประกอบด้วย สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ฝรั่งเศสยึดถือนโยบายการป้องปรามทางนิวเคลียร์ โดยดำเนินความพยายามเพื่อยุติการทดลองนิวเคลียร์ในทุกรูปแบบ อนึ่ง ฝรั่งเศสเป็นภาคีสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) และสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) องค์การเพื่อความร่วมมือและความมั่นคงในยุโรป (OSCE) และกองกำลังยุโรป ซึ่งมีทหารฝรั่งเศสร่วมปฏิบัติการอยู่ด้วยเกือบ 13,000 คน -อิหร่าน เห็นด้วยกับการออกมาตรการ sanction เพื่อให้อิหร่านยกเลิกการดำเนินโครงการนิวเคลียร์ และเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะยินยอมให้อิหร่านครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากจะนำไปสู่การสะสมอาวุธในภูมิภาค อันจะเป็นอันตรายต่อภูมิภาคโดยเฉพาะต่ออิสราเอล และอาจจะลามไปยังตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป-ความร่วมมือระหว่างประเทศอุตสาหกรรมกับประเทศที่มีพลังงานธรรมชาติเพื่อให้ก่อประโยชน์ร่วมกัน จะส่งเสริมความร่วมมือทางด้านนิวเคลียร์เพื่อสันติและการขยายการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากแอลจีเรียไปยังฝรั่งเศส
การปกครองท้องถิ่นของฝรั่งเศสฝรั่งเศสมีการปกครองท้องถิ่น 3 รูปแบบ คือ
1. เทศบาล (Commune) - เทศบาลเป็นการปกครองที่เล็กที่สุดแต่ก็เป็นการปกครองที่เก่าแก่ที่สุด ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 12 แต่ได้มีการจัดตั้งเป็นทางการตามกฎหมาย ในปี 2332 (การปฏิวัติฝรั่งเศส) ปัจจุบันฝรั่งเศสมีเทศบาลประมาณ 36,763 แห่ง - องค์การบริหารเทศบาลของฝรั่งเศส เรียกว่า Conseil Municipal ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ทุก 6 ปี และคณะกรรมการเทศบาลจะเลือกสมาชิกของคณะกรรมการ 1 คนทำหน้าที่นายกเทศมนตรี (Maire)- นายกเทศมนตรีมีอำนาจในการบริหารภายในเทศบาล รวมทั้งเป็นตัวแทนของรัฐในการจัดทำนิติกรณ์ของรัฐ จดทะเบียนต่างๆ รักษาความสงบ จัดการเลือกตั้งภายใน รวมทั้งจัดทำประกาศต่างๆ ของรัฐ นอกจากนั้น นายกเทศมนตรียังทำหน้าที่ในการบริหารงบประมาณของเทศบาล และงานในความรับผิดชอบของเทศบาลนั้นๆ อาทิ โรงเรียน รถรับ-ส่งนักเรียน การกำจัดขยะ สาธารณูปโภค ถนนหนทางภายในเทศบาล การวางผังเมือง เป็นต้น
2. จังหวัด (Departement)- จังหวัดจัดตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อปี 2332 โดยถือหลักว่า การเดินทางโดยใช้ม้าเป็นพาหนะ จากจุดใดๆ ก็ตามในแต่ละจังหวัดไปยังศาลากลางจังหวัดต้องสามารถไป-กลับได้ภายในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและตก ปัจจุบันฝรั่งเศสมีจังหวัด 100 แห่ง- องค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกว่า Conseil G?n?ral มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 6 ปี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนี้ จะเลือกประธานเพื่อทำหน้าที่บริหาร โดยจะต้องเป็นผู้เตรียมการ และดำเนินการประชุมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บริหารงบประมาณ และบุคลากร- หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่สำคัญๆ ได้แก่ การดำเนินการของวิทยาลัยจังหวัด การจัดการขนส่งภายใน การจัดการท้องถิ่น เป็นต้น- โดยที่ฝรั่งเศสจัดว่าเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมาก ดังนั้น รัฐบาลฝรั่งเศสโดยกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้มีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด (Pr?fet) ไปทำหน้าที่บริหารงานในส่วนความรับผิดชอบของรัฐ ในจังหวัดนั้นๆ อาทิ การรักษาความสงบภายใน การจัดการเลือกตั้ง การให้ความช่วยเหลือในกรณีเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่างรัฐบาลกลางกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด
3. ภาคหรือมณฑล (R?gion)- ภาคหรือมณฑลเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นล่าสุด ตามนโยบายกระจายอำนาจเมื่อปี 2529 เป็นการรวมหลายจังหวัดเข้าด้วยกัน โดยให้จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่ตั้งของภาค และผู้ว่าราชการในจังหวัดนั้นเป็นผู้ว่าราชการการภาคด้วย ปัจจุบัน ฝรั่งเศสมี 26 ภาค- องค์การบริหารภาคเรียกว่า Conseil Regional มีการเลือกตั้งโดยตรงทุก 6 ปี และองค์การบริหารภาคนี้ จะเลือกประธานเพื่อทำหน้าที่บริหาร โดยจะต้องเป็นผู้เตรียมการ และดำเนินการประชุมขององค์การบริหารภาค ตลอดจนบริหารงบประมาณ และบุคลากรภายในภาค
เศรษฐกิจการค้า เศรษฐกิจ
ผลผลิตประชาชาติ 2,040 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2550)
รายได้เฉลี่ยต่อหัว 31,825 ดอลลาร์สหรัฐ (2550)
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.8 (2550)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.5 (2550)
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ กลุ่มประชาคมยุโรป กว่าร้อยละ 58.6 ของการค้าทั้งหมดของฝรั่งเศส (เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี) ที่เหลือ ได้แก่ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ แอลจีเรีย
สินค้าเข้า เครื่องจักรกล อุปกรณ์การขนส่ง เหล็ก เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ และผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และ ยาสูบ
สินค้าออก รถยนต์ เครื่องบิน เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ พลาสติก เหล็ก โลหะ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ อาหาร
สภาวะเศรษฐกิจฝรั่งเศสเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและผลผลิตด้านอาหารอันดับที่ 2 ของโลก (โดยเฉพาะธัญพืชและผลิตภัณฑ์อาหาร) รองจากสหรัฐอเมริกา และเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม อันดับที่ 4 ของโลก นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ
การค้าต่างประเทศ- ในอดีต ฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี 2525 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของฝรั่งเศสดีขึ้น และตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา- ปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ (1) ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง (2) ฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพฯ ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และ (3) การส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของฝรั่งเศสทั้งหมด
อัตราการว่างงานปัญหาการว่างงานเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ซึ่งรัฐบาล ทุกชุดให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ขณะนี้ฝรั่งเศสมีอัตราว่างงานประมาณ ร้อยละ 7.5
นโยบายด้านเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2550 ฝรั่งเศสประสบปัญหา ราคาน้ำมันดิบสุงตัวขึ้น สถาวะทางการเงินของโลกผันผวน ราคายูโรที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออก และราคาวัตถุดิบทางการเกษตรทีสุงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รัฐบาลยิ่งเร่งรัดการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ อาทิ การใช้มาตรการที่จะส่งผลเพิ่มอำนาจการซื้อ ปรับแก้การขาดดุลงประมาณ และสนับสนุนการนำเงินกำไรของบริษัทมาแบ่งปันออกเป้นสามส่วนเท่าๆ กัน (ได้แก่ การลทุน การคืนกำไรแก่ผู้ถือหุ้น และให้แก่พนักงานในบริษัท เพื่อเป็นการเพิ่มแรงจูงใจ) การสนับสนุนการแก้ไขกฎหมายให้อายุการเกษียณคือ 65 ปี (และต้องทำงานอย่างน้อย 51 ปี จึงจะมีสิทธิ์ได้รับบุนาญอย่างเต็มที่) การปฏิรูการศึกษาขั้นสามัญ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ฝรั่งเศสฝรั่งเศสกับไทยมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในขณะที่ฝรั่งเศสตรงกับสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14(ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญระหว่างความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้1. วันที่เชอวาเลียเดอโชมอง ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในวันที่ 18 ตุลาคม 22282. วันที่ 2 ธันวาคม 2228 วันลงนามใน "สัญญาเกี่ยวด้วยการศาสนาระหว่างนายเชอวาเลียเดอโชมอง ราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสฝ่ายหนึ่ง กับนายคอนซตันตินฟอลคอน หรือพระฤทธิ์กำแหงภักดี ศรีสุนทรเสนา แทนพระเจ้ากรุงสยามอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เมืองละโว้"3. วันที่ 11 ธันวาคม 2228 วันลงนามใน "สัญญาซึ่งได้ทำกันในระหว่างเชอวาเลียเดอโชมอง เอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับนายคอนซตันตินฟอลคอน ผู้แทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทานอนุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสส่งพ่อค้าฝรั่งเศสมาทำการค้าขายในอินเดียตะวันออก ณ เมืองลพบุรี"4. วันที่ออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) ราชทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ในเดือนกรกฎาคม 2229)
อาจถือได้ว่าไทยและฝรั่งเศสสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในวันที่ 15 สิงหาคม 2399 ที่มีการลงนาม Treaty of Friendship, Commerce and Navigation ต่อมา ในปี 2432 ประเทศไทยได้ตั้งสำนักงานและอัครราชทูตประจำกรุงปารีส และได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตในปี 2492 ไทยและฝรั่งเศสได้จัดงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ครบรอบ 300 ปี เมื่อปี 2528 และปี 2549 เป็นโอกาสครบรอบ 320 ปีของการเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ และครบรอบ 150 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
กลไกดำเนินความสัมพันธ์- คณะกรรมการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547คณะกรรมการร่วมดังกล่าวจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนพิเศษเป็นประธาน โดยฝ่ายไทยพยายามผลักดันให้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ขึ้นเพื่อเพื่อทบทวนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส
เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส นายธนะ ดวงรัตน์
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย นาย Laurent Bili
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองลีออง นาย Frederique de Ganay
กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองมาร์เซยส์ นาย Francis Biget
กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำเชียงใหม่ นาย Thomas Baude
กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำภูเก็ตนาย Lucien Rodriguez
กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำเมืองพัทยา นาย Pierre de Brugerolle de Fraissinette
ความสัมพันธ์ทางการเมือง ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในด้านต่างๆ ดำเนินไปด้วยความราบรื่นไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งในระดับพระราชวงศ์ บุคคลสำคัญ และเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอ
การค้าไทยกับฝรั่งเศสได้ติดต่อค้าขายกันตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ปริมาณการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วในปลายทศวรรษ 1980
การค้ารวมในปี 2549 การค้าไทย-ฝรั่งเศสมีมูลค่ารวม รวม 2,860.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แยกเป็นการส่งออก 1,422.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,437.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 14.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน 2550 ไทย - ฝรั่งเศสมีมูลค่าการค้ารวม 1,462 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 805 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 658 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 147 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป คอมพิวเตอร์ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผักและผลไม้สด ส่วนสินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อากาศยาน เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์
ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า - ปัญหาด้านกฎระเบียบด้านการค้าทั้งของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งบางครั้งไม่เอื้ออำนวยต่อการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติ ฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่า ประเทศสมาชิกสหภาพฯ อื่นๆ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกไทยต้องปฏิบัติตาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยต้องให้ความสำคัญและเข้มงวดกวดขันเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทย- ปัญหาสุขอนามัยเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในสินค้าประมง อาทิ การตรวจพบ cadmium ในปลาหมึกแช่แข็ง หรือการพบเชื้อ salmonella ในปลาแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สินค้านำเข้าจากบริษัทที่มีปัญหาถูกใช้มาตรการเข้มงวด/ตรวจสอบ ทั้งนี้ สินค้าประมง เป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP) ซึ่งทำให้ความสามารถ ในการแข่งขันของสินค้าไทยลดลงอยู่แล้ว การเกิดปัญหาด้านสุขอนามัยขึ้นอีกจะยิ่งส่งผล ต่อการส่งออกสินค้าของไทย- ปัญหาคุณภาพสินค้าไทย บางประเภทยังไม่ได้มาตรฐานตลาด ซึ่งต้องมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันต่อไป- ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดเสรี มีการแข่งขันสูงมีการกีดกันและป้องกันตนเอง อุปสรรคด้านการตลาดดังกล่าว ได้แก่ การหาแหล่งสินค้าที่ต้นทุนต่ำ ผู้นำเข้าของฝรั่งเศสเลือกซื้อสินค้าจากประเทศผู้ผลิตที่ได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากรเพื่อให้มีต้นทุนการนำเข้าต่ำ สินค้าของไทยบางประเภทจึง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดนี้ได้ รสนิยมด้านการบริโภค ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีรสนิยมเฉพาะตัว ตามข้อมูลที่ได้รับจากผู้นำเข้ารายใหญ่พบว่า ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสมีรสนิยมที่แตกต่าง จากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ อาทิเช่น กรณีของสับปะรดกระป๋อง ผู้บริโภคนิยมสับปะรดกระป๋องที่มีความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูง (มีความหวานมาก) และคำนึงถึงสีสันของเนื้อสับปะรดด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มยังให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องบนสลากบรรจุภัณฑ์ด้วยอำนาจต่อรองของกลุ่มต่างๆ ประเทศฝรั่งเศสมีสหภาพแรงงาน สมาคมผู้ผลิต และสมาคมการค้าต่างๆ ที่เข้มแข็ง สามารถสร้างแรงกดดันรัฐบาลให้กำหนดมาตรการ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนได้ แรงกดดันจากกลุ่มต่างๆ ดังกล่าวมีผลต่อสินค้านำเข้า จากต่างประเทศ- ความเข้มงวดทางด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเหตุที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบรูปแบบสินค้าต่างๆ ฝรั่งเศสจึงให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และทรัพย์สิน ทางปัญญาด้านอุตสาหกรรมต่างๆ โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายสากลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและระเบียบปฏิบัติภายในของฝรั่งเศสอีกส่วนหนึ่งด้วย ในแง่นี้ ฝรั่งเศสจึงมี ปัญหาทางการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งไทยอยู่มาก โดยเฉพาะ ความผิดเรื่องการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งพบว่า 7 ใน 10 ของเครื่องหมายการค้า ที่พบว่ามีการลอกเลียนแบบนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าลอกเลียนแบบที่ถูกจับกุมและยึดโดยศุลกากรฝรั่งเศส มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยมากที่สุด
กลไกความร่วมมือด้านการค้า - ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมทางการค้าฝรั่งเศส-ไทย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ มีการประชุมครั้งแรกที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539 ครั้งที่ 2 ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2540และครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2542- ในภาคเอกชน มีการจัดตั้งสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (French-Thai Business Council - FTBC) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยหอการค้าไทยเป็นตัวแทน และ Secretariat ของฝ่ายไทย (ประธานร่วมฝ่ายไทยคือนายชิงชัย หาญเจนลักษณ์) และ MEDEF (Mouvement Entrepreneurs de France หรือ The French Enterprises Association) เป็นตัวแทนของฝ่ายฝรั่งเศส (ประธานร่วมฝ่ายฝรั่งเศสคือนาย Jacques Friedmann) การประชุม FTBC ครั้งที่ 3 จัดขึ้นในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2544 ที่กรุงปารีส ซึ่งมีการพบปะระหว่างภาคเอกชนทั้ง 2 ฝ่าย และมีการลงนาม Joint Statement of the 3rd FTBC Meeing ในวันเดียวกัน -ในเดือนมีนาคม 2543 หอการค้าและอุตสาหกรรมฝรั่งเศส (La Chambre de Commerce et d Industries de Paris) แจ้งความประสงค์จัดทำความตกลงร่วมระหว่าง หอการค้าและอุตสาหกรรมฝรั่งเศสกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ทางการค้าและการลงทุนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยจะมีการลงนามความตกลงฯ กันต่อไป นอกจากนี้ ไทย-ฝรั่งเศส ยังมีความร่วมมือในกรอบ ASEM อาทิ สภาธุรกิจเอเชีย- ยุโรป (Asia - Europe Business Forum) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนชั้นนำ ของประเทศสมาชิก ASEM
ความสัมพันธ์ด้านการลงทุนไทย-ฝรั่งเศสดังเอกสารแนบ
ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว1. สถานการณ์การท่องเที่ยว - ฝรั่งเศสจัดอยู่ในกลุ่มตลาดหลักที่สำคัญของประเทศไทย ในภาพรวมมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 11 การเติบโตโดยรวมในช่วง 13 ปี อยู่ในอัตราร้อยละ 4.74 การเคลื่อนไหวของตลาดโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี -ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้าท่องเที่ยว และปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่ค่อนข้างสูง นอกจากนั้นยังมีปัญหาทัวร์คุณภาพต่ำที่ตัดราคากันเพื่อขายนักท่องเที่ยวฝรั่งเศสซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากปี ค.ศ. 2000 ซึ่งปัญหานี้อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อภาพลักษณ์ของไทยในลักษณะของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกและมีคุณภาพต่ำในสายตานักท่องเที่ยวฝรั่งเศส-ฝรั่งเศสถือเป็นตลาดสำคัญในเชิงคุณภาพของนักท่องเที่ยว และเป็นตลาดสำคัญลำดับที่ 3 ในยุโรป รองจากสหราชอาณาจักร และเยอรมนี นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสส่วนใหญ่นิยมเดินทางมาเอง เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาย โดยเป็นกลุ่มที่เคยเดินทางมาประเทศไทยแล้ว (re-visitor) และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 25-54 ปีระหว่างเดือน ม.ค. – พ.ค. 2550 มีนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสเข้ามาในไทยจำนวน 133,564 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 28.79
2. ปัญหา/อุปสรรค ภาพพจน์ในทางลบของไทย เช่น ปัญหาโสเภณีเด็ก การหลอกลวงนักท่องเที่ยวในการซื้ออัญมณี การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษในกรุงเทพฯ ปัญหาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการบริโภคเนื้อสุนัขและส่งออกหนังสุนัข ซึ่งรวมอยู่ภายใต้หัวข้อการทารุณกรรมสัตว์ รวมทั้งสัตว์ป่า (ชะนีและช้าง) เป็นอุปสรรคสำคัญ นอกจากนั้น ไทยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ ประเทศแถบอินโดจีนซึ่งเคยเป็นอาณานิคม ของฝรั่งเศสและสันทัดภาษาฝรั่งเศส ตลอดจนเสียค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่ำกว่า
ฝรั่งเศสกับการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและทางวิชาการความช่วยเหลือของฝรั่งเศสส่วนใหญ่เป็นลักษณะให้ทุนการศึกษา ทั้งในการฝึกอบรม ดูงานและในการศึกษาระดับปริญญา ตลอดจนจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ และเทคโนโลยี โดยให้ความช่วยเหลือในรูปอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ความช่วยเหลือของรัฐบาล ฝรั่งเศสต่อประเทศไทยทางด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และวัฒนธรรม มีลักษณะการให้แบบปลีกย่อย และกระจัดกระจาย ความร่วมมือหลักๆ จะผ่านทางสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และวิชาการระหว่างไทยและฝรั่งเศส เริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1956 โดยรัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยในรูปทุนสาขาต่างๆ ได้แก่ วิศวกรรม เกษตรกรรม วิทยุโทรทัศน์ การไปรษณีย์ และเน้นหนักด้านการสอนภาษาและวรรณคดี ฝรั่งเศส และได้มีการลงนามระหว่างรัฐบาลทั้งสองในความตกลง 2 ฉบับเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1977 คือ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อให้การดำเนินการความร่วมมือ และการบริหารความร่วมมือระหว่างไทยและฝรั่งเศส ดำเนินไปอย่างราบรื่นและสอดคล้องกับนโยบายของทั้งสองประเทศ จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ร่วมไทย-ฝรั่งเศส ขึ้นชุดหนึ่ง โดยกำหนดให้มีการประชุมคณะผู้แทนของรัฐบาลทั้งสองเป็นประจำทุก 3 ปี โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ การประชุมครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1975 เป็นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของความร่วมมือระหว่างกัน เช่น แนวทางความช่วยเหลือว่าจะมุ่งเน้นไปในทิศทางใด รวมทั้งพิจารณาโครงการใหม่ โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ และโครงการที่เห็นควรให้ สิ้นสุด จนถึงปัจจุบันมีการประชุมไปแล้ว 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายคือปี ค.ศ. 1987 ที่ประเทศไทย และไม่มีการประชุมอีกจนบัดนี้ ในทางปฏิบัติ ฝรั่งเศสจะแจ้งความร่วมมือให้ฝ่ายไทยทราบในลักษณะปีต่อปี และจำกัดอยู่ในสาขาที่ทางฝรั่งเศสสนใจเท่านั้น นอกจากนี้โครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลฝรั่งเศส จะไม่มีการจัดทำข้อตกลงโครงการ แต่จะบริหารงานโครงการให้อยู่ในกรอบความร่วมมือทั้งสองตามแต่ลักษณะของความร่วมมือ ในปีงบประมาณ ค.ศ. 1998 ไทยได้รับความช่วยเหลือจากฝรั่งเศสในรูปแบบผู้เชี่ยวชาญอาสาสมัครและวัสดุอุปกรณ์ รวมกว่า 250 ล้านบาท หรือ 6.96 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.6 ของความช่วยเหลือทั้งหมดที่ไทยได้รับจากต่างประเทศ ทำให้ฝรั่งเศส เป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และวิทยาการ แก่ไทยสูงเป็นลำดับที่ 4 ต่อจากญี่ปุ่น เยอรมนี และเดนมาร์ก สำหรับการให้ความช่วยเหลือในปี ค.ศ. 1999 มีมูลค่าประมาณ 11 ล้านฟรังก์ฝรั่งเศส โดยเป็นทุนการศึกษาในด้านกฎหมาย การเกษตร urban development และภาษา แต่กว่า 1 ใน 3 ของเงินช่วยเหลือจะให้กับโครงการการเผยแพร่ภาษาฝรั่งเศส เช่น การส่งเสริมการสอน และการใช้ภาษาฝรั่งเศส การให้ทุนฝึกอบรม ครูสอนภาษาฝรั่งเศส การแปลหนังสือ ฯลฯ
1. ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ รัฐบาลฝรั่งเศสให้ความร่วมมือภายใต้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการในรูปโครงการ ผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน และเงินสนับสนุนกิจการต่างๆ ในระยะหลัง ความร่วมมือจะเน้นหนักไปที่ความร่วมมือด้านทุน โดยการให้ทุนการศึกษาจะเป็น สัดส่วน ประมาณร้อยละ 45 ของงบประมาณด้านนี้ และให้ความสำคัญกับการกระชับความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งสอท. ฝรั่งเศสได้ทำความตกลงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยหลายแห่ง รวมประมาณ 70 ความตกลงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และได้มีการลงนามความตกลงระหว่าง Thailand Research Fund (TRF) กับ French Agency for Research (Centre Nationale de la Recherche Scientifique- CNRS) และความตกลงความร่วมมือว่าด้วยการอุดมศึกษาและการวิจัยไทย-ฝรั่งเศส เมื่อ 23 เมษายน ค.ศ. 1999
2. ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมนี้ ปกติอยู่ในความดูแลของกระทรวงการต่างประเทศแต่ในการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ครั้งที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศได้ขอให้กรมวิเทศ สหการช่วยดำเนินการในส่วนของทุนไปก่อน
3. ความร่วมมือทางพาณิชย์ ความร่วมมือด้านพาณิชย์นี้ ปกติจะดำเนินการโดยตรงกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง แต่อาจมีบางโครงการที่ดำเนินการผ่านกรมวิเทศสหการ เช่น โครงการการศึกษาความเหมาะสมของการขยายท่าอากาศยาน เป็นต้น ปัจจุบันมีโครงการเดียวคือ โครงการศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส มูลค่า 23.58 ล้านฟรังค์ ที่ให้แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
4. แนวโน้มความร่วมมือ ความร่วมมือจากรัฐบาลฝรั่งเศสในอนาคต คงไม่เปลี่ยนแปลงจากรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากนัก กล่าวคือ ความร่วมมือในอนาคตจะเน้นหนักที่ความร่วมมือด้านทุน โดยสาขาความร่วมมือเป็นไปตามที่รัฐบาลฝรั่งเศสมีความเชี่ยวชาญและสนใจ โดยทางฝ่ายฝรั่งเศสจะแจ้งความร่วมมือ ให้ฝ่ายไทยทราบในลักษณะปีต่อปี ส่วนความร่วมมือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น โครงการ ผู้เชี่ยวชาญเงินสนับสนุน กิจกรรม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับคำขอที่หน่วยงานฝ่ายไทยจะเสนอให้ฝรั่งเศสพิจารณา
ฝรั่งเศสกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินฝรั่งเศสมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนไทยและประเทศเอเชียนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ ด้านการเงิน และการคลังในปี ค.ศ. 1997 โดยผ่าน IMF ซึ่งประชาคมยุโรปมีสัดส่วนเงินทุนอยู่ร้อยละ 30 ของเงินทุนทั้งหมด ส่วนธนาคารฝรั่งเศสก็มีส่วนในการปรับโครงสร้างภาคการเงิน อาทิ ธนาคาร Societe Generale กับบริษัท Asiacredit และยืดอายุหนี้ให้กับภาคเอกชนไทยเป็นรายกรณี ตลอดจนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องโดยให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนไทย อาทิ ธนาคาร Banque Nationale de Paris (BNP) และธนาคาร NATEXIS ให้เงินกู้จำนวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใต้การดูแลของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank - ADB) นอกจากนี้ ธนาคาร Indosuez ได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการนำเข้าและการส่งออกแห่งประเทศไทย (Eximbank) ให้การสนับสนุนด้านการเงินในโครงการร่วมลงทุนต่าง ๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลฝรั่งเศสให้ความสนับสนุนด้านการเงินแก่ไทยต่อไป โดยจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีสิทธิกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำจากฝรั่งเศส (ซึ่งฝรั่งเศสให้ไม่กี่ประเทศ) และให้ open credit และเงินกู้ในโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการด้านการรถไฟ
ความร่วมมือทางทหารและความมั่นคงความร่วมมือในด้านนี้ ปัจจุบันมีดังนี้1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางทหารในด้านการศึกษาพัฒนาระหว่างสาธารณรัฐ ฝรั่งเศสกับราชอาณาจักรไทย ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบเมื่อ 23 มกราคม ค.ศ. 19962. ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทหาร 3. ฝรั่งเศสสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิก ARF4. ในการประชุมเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำปีที่ 6 ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม ค.ศ. 1998 ประธานาธิบดี Chirac ได้แสดงความสนใจต่อภูมิภาคเอเชียในด้านความมั่นคง โดยประธานาธิบดี Chirac ได้เสนอจัดตั้ง “องค์กรเพื่อความมั่นคงในเอเชีย”(Organization de s?curit? ? l'?chelle de l'Asie tout enti?re) เพื่อสนับสนุนความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาค5. ในระหว่างการเยือนของนาย Alain Richard รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของฝรั่งเศส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 นาย Richard ได้เสนอแนวคิดและประเด็นความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ระหว่างเอเชีย-ยุโรปในมุมมองทวิภาคีไทย-ฝรั่งเศส (Asia-Europe Security Relations in the Franco-Thai Perspective) ดังมีสาระโดยสรุป คือ5.1 ฝรั่งเศสต้องการให้มี European-Asia Security dialogue หรือ Strategic dialogue ในระดับสูง ทั้งในแบบทวิภาคีและพหุภาคี โดยที่ไม่ควรปล่อยให้สหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการ รักษาสันติภาพในภูมิภาคเพียงประเทศเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุค globalization ที่ทำให้ทุกอย่าง แคบลง (ปัจจุบันฝรั่งเศสมีกรอบความร่วมมือดังกล่าวกับ ญี่ปุ่น จีน เกาหลี อินเดีย และสิงคโปร์)5.2 ยุโรปมีผลประโยชน์ในเอเชียมากพอที่จะต้องการให้เอเชียมีความมั่นคงและการ เติบโต คือ 1 ใน 4 ของการค้าต่างประเทศของฝรั่งเศสทำกับประเทศในเอเชียตะวันออก การลงทุนของ ยุโรปในเอเชีย ซึ่งมีประมาณ 80 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้นมีมากพอกับการลงทุนของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น งาน (job) ต่างๆ ในยุโรปประมาณ 3 ล้านตำแหน่งเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ในขณะที่ 1 ใน 3 ของสินค้าออกของประเทศอาเซียนส่งไปยัง EU 5.3 ฝรั่งเศส (และอังกฤษ) ต้องการเป็นสมาชิก ARF และเห็นว่า ARF ควรขยาย สมาชิกภาพ ซึ่งจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับยุโรป5.4 ฝรั่งเศสพร้อมจะมีบทบาทในเอเชีย เพราะมีกองเรืออยู่แล้วทั้งในมหาสมุทร อินเดียและแปซิฟิก และเป็นศูนย์ในด้านเทคโนโลยียุทโธปกรณ์ และได้ทำสัญญาทางทหารกับ 8 ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในโครงการทางทหารต่างๆ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา และการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และเทคโนโลยี5.5 ฝรั่งเศสเสนอให้การฝึกอบรม Thai Mine Action Centre
ความตกลงทวิภาคีความตกลงที่ลงนามแล้ว1) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ.1977 2) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยบริการเดินอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1975 และมีการทบทวนเป็นระยะ3) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1974 4) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ลงนามเมื่อ 16 กันยายน ค.ศ. 19775) อนุสัญญาความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา (โอนตัวนักโทษ) ลงนามเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 19836) อนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการอาญาไทย-ฝรั่งเศสลงนามเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 19977) คณะทำงานร่วมทางการค้าไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 19958) บันทึกความเข้าใจในการก่อตั้ง French-Thai Business Council ลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 19979) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 เป็นความตกลงฉบับใหม่ ซึ่งฝรั่งเศสขอทำขึ้นใหม่แทนฉบับเดิม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานที่ดูแล และได้กำหนดให้มีคณะกรรมการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ว่าด้วยความตกลงความร่วมมือด้านการไปรษณีย์และโทรคมนาคม 10) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติลงนามเมื่อ 28 มิถุนายน ค.ศ. 199811) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือว่าด้วยอุดมศึกษาและวิจัยไทย-ฝรั่งเศสลงนามเมื่อ 23 เมษายน ค.ศ. 199912) ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ (The Agreement between the Government of the French Republic and the Government of the Kingdom of Thailand Relating to Cooperation in the Field of Space Technologies and Applications) ลงนามเมื่อ 27 มกราคม ค.ศ. 200013) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทางทหารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Agreement on Military Logistics Cooperation Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the French Repubic) ลงนามเมื่อ 26 เมษายน ค.ศ. 200014) บันทึกความเข้าใจระหว่าง BOI กับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของฝรั่งเศส (UBIFRANCE) ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254915) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย -ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 16) ความตกลงจัดตั้งสำนักงานเพื่อการพัฒนา (Agence Fran?aise de D?veloppement- AFD) ในประเทศไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254917) หนังสือแลกเปลี่ยน (Terms of Reference: ToR) เพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 18) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 19) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ด้านความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทยกับฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254920) ประกาศเจตนารมณ์ (Declaration of Intent) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254921) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านส่งเสริมการค้าปลีกระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัท Carrefour Group ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254922) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแฟชั่นระหว่างสมาพันธ์ Pr?t-?-Porter F?minin (เสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้หญิง) และสหภาพเครื่องนุ่งห่มฝรั่งเศส กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/สมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย/สมาคมเครื่องหนังไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254923) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าเชียงใหม่และหอการค้าเมืองลียง ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254924) Agreement on Khanom Marine Biodiversity Initiative ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 254925) สัญญาทางธุรกิจระหว่างบริษัท Fives-Lille (DMS) กับ บริษัท Thainox ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
การแลกเปลี่ยนการเยือนฝ่ายไทยพระราชวงศ์- ค.ศ. 1960 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ- พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 31 สิงหาคม - 9 กันยายน ค.ศ.1994 สมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการตามคำกราบทูลเชิญของรัฐบาลฝรั่งเศส- 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน ค.ศ. 1995 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 29 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม ค.ศ.1995 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 8-26 มิถุนายน ค.ศ. 1997 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ Mme. Bernadette Chirac ภริยาประธานาธิบดี- 27-31 พฤษภาคม ค.ศ.1998 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 14-16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 12-22 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 31 ธันวาคม 2542 - 5 มกราคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส เป็นการส่วนพระองค์- 1-5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณอัครราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อร่วมการลงนาม Charter of Paris ในการประชุม World Summit Against Cancer- 27 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส เพื่อทรงร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเกษตรกรรมนานาชาติ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของทางการฝรั่งเศส- 7-9 มีนาคม และ 31 มีนาคม - 2 เมษายน ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส (ก่อนและหลังเสด็จฯ เยือนอเมริกาใต้) - 21-28 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อทรงร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี- 16-27 เมษายน ค.ศ. 2001 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านภาษาศาสตร์ จากสถาบันแห่งชาติทางภาษาและอารยธรรมตะวันออก (Institut Nationale des Langues et Civilisations Orientales – INALCO) - 4-5 เมษายน ค.ศ. 2002 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 17-23 ตุลาคม ค.ศ. 2002 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- 1-6 กันยายน ค.ศ. 2003 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์- กันยายน ค.ศ. 2006 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อร่วมงานเปิดเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส- มีนาคม ค.ศ. 2008 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือน FRench Polynesia เป็นการส่วนพระองค์
ภาครัฐบาล- 2-4 ตุลาคม ค.ศ.1989 ฯพณฯ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ- 13-15 พฤษภาคม ค.ศ.1996 ม.ร.ว.เทพ เทวกุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส- 26-27 มิถุนายน ค.ศ.1996 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เยือนฝรั่งเศส- 12-18 เมษายน ค.ศ. 1997 ฯพณฯ นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส- 11-12 กันยายน ค.ศ. 1997 ฯพณฯ นายประจวบ ไชยสาส์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส เพื่อลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือกันและกันทางอาญา- 20-25 เมษายน ค.ศ. 1998 ฯพณฯ นาย พิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี- 20-25 เมษยายน ค.ศ. 1998 ฯพณฯ นาย ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เยือนฝรั่งเศส- 6-8 กันยายน ค.ศ. 1998 ฯพณฯ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส- 12-13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส- 30 พฤษภาคม ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รมว. คมนาคม เยือนฝรั่งเศส- 1 มิถุนายน ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายจองชัย เที่ยงธรรม รมช.กระทรวงแรงงานดูงาน ที่ฝรั่งเศส- 7-9 มิถุนายน ค.ศ.1999 ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เยือนฝรั่งเศสตามคำเชิญของประธานาธิบดี Chirac - 2-4 ตุลาคม ค.ศ.1999 นายสาโรจน์ ชวนะวิรัช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส ตามโครงการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับปลัดกต.- 22-24 ตุลาคม ค.ศ.1999 ฯพณฯ นายพิชัย รัตตกุล เยือนฝรั่งเศส เพื่อดูงาน ระบบขนส่งมวลชน- 15-18 เมษายน ค.ศ. 2001 ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส- 12-13 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของ นาย Jean-Pierre Raffarin นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส- 21-23 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายเตช บุนนาค) เยือนฝรั่งเศส- 1-3 ตุลาคม ค.ศ. 2003 นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเยือนฝรั่งเศส- 12-19 กันยายน ค.ศ. 2006 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส เพื่อร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศสฝ่ายฝรั่งเศส- 19-21 มกราคม ค.ศ. 1990 นาย Michel Rocard อดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส มาเยือนไทย- 17-21 มกราคม ค.ศ.1994 นาย Francois Missoffe เดินทางมาเยือนไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหากัมพูชา- 26-27 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 นาย Alain Lamassoure อดีตรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านกิจการยุโรปได้เดินทางมาร่วมประชุม PMC ณ กรุงเทพฯ- 16-19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995 นาย Jose Rossi อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการค้าต่างประเทศฝรั่งเศส โดยเป็นแขกของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อมาร่วมในพิธีเปิดศาลาฝรั่งเศส ในงาน BOI FAIR S 95- 6-8 มีนาคม ค.ศ.1995 นาย Bertand Dufourcq ปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเดินทางมาเยือนไทย- 16 มกราคม ค.ศ.1996 นาง Margic Sudre รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศ (รับผิดชอบด้านกิจการเกี่ยวกับกลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส) เยือนไทย- 27-28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1996 นาย Jacques Toubon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมฝรั่งเศสเยือนไทย- 1-2 มีนาคม ค.ศ.1996 นาย Jacques Chirac ประธานาธิบดี เดินทางมาร่วมประชุมผู้นำ ASEM ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ- 12-15 ธันวาคม ค.ศ.1996 นาย Yves Galland รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง เยือนไทย- 16-17 ธันวาคม ค.ศ.1996 นาย Bruno Durieux ผู้แทนพิเศษของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเดินทางมาเยือนไทย- 18 ธันวาคม ค.ศ.1996 นาย Pierre Joxe ประธานศาลตรวจเงินแผ่นดินฝรั่งเศสเยือนไทย- 17-18 มีนาคม ค.ศ.1997 นาย Bertrand Dufourcq ปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเยือนไทย- พฤศจิกายน ค.ศ.1997 นาย Dominique Strauss-Kahn รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เศรษฐกิจและการคลังเยือนไทย - 20-21 ตุลาคม ค.ศ.1998 นาย Charles Josselin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส รับผิดชอบด้านความร่วมมือกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเยือนไทย- 22-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1999 นาย Jacques Dondoux รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรมเยือนไทย- 25-26 มีนาคม ค.ศ.1999 นาย Alain Richard รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเยือนไทย- 20 กันยายน ค.ศ.1999 นาย Francois Ortoli อดีตประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และประธาน MEDEF International (Mouvement Entrepreneur de France) เยือนไทย- 17-19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 นาย Charles Josselin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส รับผิดชอบด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและความสัมพันธ์กับประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝรั่งเศสมาร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 - 8-10 มีนาคม ค.ศ. 2000 นาย Francois Huwart รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการคลังและอุตสาหกรรม รับผิดชอบด้านการค้าระหว่างประเทศเยือนไทย- 29-31 มีนาคม ค.ศ. 2000 นาย Jacques Friedmann ประธานร่วมสภาธุรกิจไทยฝรั่งเศส มาร่วมประชุมสภาธุรกิจไทย-ฝรั่งเศสครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ- กรกฎาคม ค.ศ.2000 นาย Charles Josselin รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสเดินทางเยือนไทยเพื่อร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ที่กรุงเทพฯ - 21-22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 นาย Renaud Muselier รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงต่างประเทศ เยือนไทย- 24-25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 นาย Francois Loos รัฐมนตรีการค้าต่างประเทศฝรั่งเศสเยือนไทย- 19-21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 นาย Pierre-Andre Wiltzer รัฐมนตรีกิจการความร่วมมือและกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส
-------------------------------------------------------------------------------------
วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)